G-JNQN4BECGS
top of page
รูปภาพนักเขียนYukifix Center

จอเบิร์นทำยังไงดี ? เปิดเผยเคล็ดลับ เบื้องต้นเราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร ?

อัปเดตเมื่อ 30 พ.ย. 2565

จอเบิร์นคืออะไร ? เบื้องต้นเราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร ?


“จอเบิร์น”ปัญหา ที่พบเจออยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะในสมาร์ทโฟนที่ใช้หน้าจอประเภท OLED

อาการนี้จะมีรอยภาพตกค้างอยู่บนหน้าจอจางๆจนบางเครื่องเป็นเหมือนภาพซ้อน และจะติดอยู่อย่างนั้น มีสาเหตุมาจากการปล่อยหน้าจอให้แสดงผลภาพนิ่งนานเกินไปและใช้แสงสว่างเต็มขีดอยู่ตลอด ทำให้เม็ดพิกเซลในบริเวณดังกล่าวเปลี่ยนไปแสดงสีอื่นได้ไม่เต็มที่ ถึงแม้ในปัจจุบันผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจะคิดค้นวิธีต่างๆ มาป้องกันอาการจอเบิร์นแล้ว แต่ก็ยังมีผู้ใช้เจอปัญหานี้อยู่เรื่อยๆ จนหลายคนต้องทำใจนำไปเปลี่ยนหน้าจอกันเลยทีเดียว


สำหรับใครที่กำลังเจอกับปัญหาจอเบิร์นอยู่ อย่าเพิ่งถอดใจ เพราะอาการจอเบิร์นยังมีโอกาสหายได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนจอ และยังมีวิธีป้องกันไม่ให้เบิร์นซ้ำสองด้วย ทำอย่างไรไปดูกันเลยครับ

ใครที่กำลังเจออาการจอเบิร์น อย่าเพิ่งถอดใจ ลองแก้ไขในเบื้องต้นก่อนด้วยวิธีดังนี้ครับ

1. ปิดเครื่อง


ในกรณีที่อาการจอเบิร์นยังไม่ลุกลามมากนัก เราสามารถแก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยการปิดเครื่องสัก 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้เม็ดพิกเซลในหน้าจอหยุดทำงาน คืนสภาพกลับไปเป็นปกติครับ

2. ใช้ตัวช่วย



หากวิธีแรกไม่ได้ผล เรายังมีวิธีที่สองคือการกระตุ้นเม็ดพิกเซล โดยบังคับให้หน้าจอแสดงสีสันสลับไปมาที่ความสว่างสูงสุด เพื่อเป็นการ "รีเซ็ต" เม็ดพิกเซลให้กลับมาเป็นปกติอีกครั้ง โดยไปที่เว็บไซต์ screenburnfixer แล้วเลือกที่ Video เว็บไซต์จะพาเราไปยังวิดีโอบน YouTube ที่มีไว้แก้อาการจอเบิร์นโดยเฉพาะ ให้เราเล่นวิดีโอโดยขยายให้เต็มจอ แล้วปล่อยให้วิดีโอเล่นไปจนจบ (ประมาณ 2 ชั่วโมง) เพียงเท่านี้อาการจอเบิร์นก็น่าจะหายไปแล้ว

สำหรับใครที่ใช้ ios และ android สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน มาใช้ก็ได้เช่นกันครับ


ไม่อยากจอเบิร์น ทำอย่างไร?



ปัญหาจอเบิร์นเป็นปัญหาที่แก้ยากแต่ป้องกันได้ด้วยเคล็ดลับง่ายๆ ดังต่อไปนี้ครับ

1. หลีกเลี่ยงการแสดงภาพนิ่งติดต่อกันนานๆ เช่นเปิดหน้าจอ GPS ทิ้งไว้แต่ไม่ได้ขยับไปไหน หรือเล่นเกมที่มีหน้า UI บางส่วนอยู่ในตำแหน่งเดิมตลอดเป็นเวลานาน พยายามสลับจอไปดูอย่างอื่นบ้างเป็นพักๆ

2. ปิดหน้าจอเมื่อไม่ใช้งาน นอกจากจะป้องกันจอเบิร์นแล้วยังช่วยประหยัดแบตได้อีกด้วย

3. ตั้งค่าปิดหน้าจออัตโนมัติ โดยอาจตั้งไว้ที่ 2 ถึง 5 นาที

4. หลีกเลี่ยงการใช้งานหน้าจอโดยปรับความสว่างสูงสุดเป็นเวลานาน พยายามลดความสว่างลงมาให้เหมาะสม หรือจะเปิด Night Mode ไปเลยก็ได้

จอ LCD ก็เบิร์นได้นะ

เนื่องจากอาการจอเบิร์นเกิดขึ้นบ่อยกับสมาร์ทโฟนที่ใช้จอ OLED ทำให้หลายคนเข้าใจว่าอาการนี้จะเกิดขึ้นกับจอ OLED เท่านั้น แต่จริงๆ แล้วจอ LCD ก็เบิร์นได้เช่นกัน เพียงแต่มีโอกาสน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม หากจอ LCD เกิดอาการเบิร์นขึ้นมาแล้วจะแก้ไขยากกว่าจอ OLED มากเพราะโครงสร้างและการทำงานไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นใครที่ใช้สมาร์ทโฟนจอ LCD ก็ไม่ควรประมาท ควรป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ ตามคำแนะนำข้างต้นดีกว่าครับ

Comentarios


bottom of page